ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ชมพูภูพิงค์, นางพญาเสือโคร่ง
ชมพูภูพิงค์, นางพญาเสือโคร่ง
Prunus cerasoides D.Don
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rosaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides D.Don
 
  ชื่อไทย ชมพูภูพิงค์, นางพญาเสือโคร่ง
 
  ชื่อท้องถิ่น ยาแก่ะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), คัวเคาะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ผลัดใบ สูงประมาณ 10 เมตร เปลือกเรียบเป็นมัน สีเหลือบน้ำตาล เยื่อผิวบาง หลุดออกง่าย
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ออกสลับ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนกลมหรือสอบแคบ ขอบจักถี่ ๆ ปลาย ก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเป็นริ้วเล็ก ๆ ร่วงง่าย
 
  ดอก ดอก สีชมพูแดง หรือซีดขาว ออกเป็นช่อกระจุก ใกล้ปลายกิ่งก้าน ดอกยาว 0.7-2 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. หลุดร่วงง่าย
 
  ผล ผล รูปไข่หรือค่อนข้างกลม ผิวเรียบยาว 1-1.5 ซม. เมื่อสุกสีแดง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ต้มดื่มน้ำรักษาอาการหนาวสั่นจากอาการไข้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ ศูนย์ข้อมูลพืช สำนักวิชาการ-วิจัย องค์การสวนพฤกษศาสตร์
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=815
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง